หอยแครง

ชื่อเครื่องยา

หอยแครง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เปลือกหอยแครง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Anadara granosa Schenk et Reinhart.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Arcidae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        
            ไม่มีข้อมูลเป็นหอยปากคู่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกหนา ด้านนอกของเปลือกเป็นเส้นโค้งด้านละ 20 สัน ด้านบนของสันจะสูงแล้วค่อนข้างลาดลงไปถึงฝาปิดเปิด โดยปกติเปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ แต่ถ้าอยู่ที่น้ำตื้นและน้ำแห้ง ฝาด้านบนจะมีสีขาว เปลือกที่เผาแล้วมีรสเค็มกร่อย

 

เครื่องยา เปลือกหอยแครง

 

เครื่องยา เปลือกหอยแครง

 

เครื่องยา เปลือกหอยแครง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
             ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
            เปลือก ขับลมในลำไส้ ล้างลำไส้ แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก เปลือกที่เผาแล้ว มีสรรพคุณ ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ
            ตำรายาไทย: หอยแครง จัดอยู่ใน “พิกัดเนาวหอย” คือการจำกัดจำนวนเปลือกหอย 9 ชนิดที่ใช้ในการปรุงยา คือ เปลือกหอยกาบ เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยพิมพการัง เปลือกหอยตาวัว เปลือกหอยจุ๊บแจง เปลือกหอยมุก และเปลือกหอยสังข์หนาม สรรพคุณ หอยทั้งเก้า เอามาเผาไฟให้สุกดี จะได้ “ปูนหอย” ใช้เป็นยาแก้กรดในกระเพาะอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้มีลมผายและลมเรอ ล้างลำไส้  แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก
            ในคัมภีร์กระษัย: กล่าวถึงโรคกระษัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของร่างกาย คือ “กระษัยล้น” เกิดเพราะน้ำเหลือง ให้ใช้กระดูกโคเผา หอยกาบเผา หอยแครงเผา หอยขมเผา หอยอีรมเผา หอยมือเสือ หอยพิมพการังเผา หอยนมนางเผา เบญจกูล สิ่งละ 1 ส่วน พริกไทย 25 ส่วน ทำเป็นผง บดทำแท่งไว้ สรรพคุณแก้กระษัยล้น ให้ธาตุปูน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับลม แก้จุกเสียดแน่น บำรุงไฟธาตุ
            ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์: มียาแก้เส้นเอ็นกำเริบและพิการ ดังนี้ เอาเปลือกหอยโข่ง เปลือกหอยขม เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยกาบ กาบหอยแครง กาบหอยตาวัว กาบหอยพิมพการัง หอยสังข์ หอยมุก กระดูกวัว กระดูกเสือ กระดูกแพะ กระดูกเลียงผา ยาทั้งหมดนี้เผาให้ไหม้ เอาสิ่งละ 1 ส่วน
            นอกจากนี้ยังมีการใช้เปลือกหอยแครง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ อีกหลายขนานเช่น รักษา “กระษัยปู” (ปวดท้องน้อยเป็นกำลัง) มีหอยแครงเป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก มีสรรพคุณขับพยาธิ ขับลม ฝาดสมาน รักษา “กระษัยจุก” มีหอยแครงเป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก สรรพคุณ ขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ รักษา “กระษัยไฟ” มีหอยแครงเป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก มีสรรพคุณ แก้ไจ้ บำรุงกำลัง ขับลม ขับปัสสาวะ ล้างลำไส้ แก้ท้องร่วง สมานลำไส้
            ในคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา: ยาแก้โทษสันทฆาตหรือภาวะอาการโลหิตจาง มีหอยแครง หอยขม หอยจุ๊บแจง ร่วมกับส่วนประกอบพืชวัตถุ ธาตุวัตถุอื่นๆ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
            การปรุงยาจากเปลือกหอย ต้องทำการ “สะตุหอย” โดยการนำเปลือกหอยที่ใช้เป็นยามาใส่ในหม้อดินแล้วตั้งไฟ ตั้งไฟไปเรื่อยๆ จนเปลือกหอยสุกเป็นสีขาว เผาจนเป็นผง หรือนำมาตำให้ละเอียด แล้วร่อนเอาผงที่ละเอียดมาปรุงเป็นยา

องค์ประกอบทางเคมี:
            ที่เปลือกมี Calcium carbonate (CaCO3) เปลือกที่เผาแล้วจะเกิดเป็น แคลเซียมออกไซด์ (CaO)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
             ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
             ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
             ไม่มีข้อมูล


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting