ส้มเขียวหวาน

ชื่อเครื่องยา

ส้มเขียวหวาน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เปลือกผล

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ส้มเขียวหวาน

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มะขุน มะเขียว มะแง มะจุก มะบาง ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มแก้วโบราณ ส้มขี้ม้า ส้มจีนเปลือกล่อน ส้มจันทบูร ส้มจุก ส้มเชียงตุง ส้มตรังกานู ส้มแป้นกระดาน ส้มแป้นเกลี้ยง ส้มแป้นขี้ม้า ส้มแป้นหัวจุก ส้มแสงทอง ส้มเหม็น

ชื่อวิทยาศาสตร์

Citrus reticulata Blanco

ชื่อพ้อง

C. chrysocarpa Lushington. , C. crenatifolia Lushington. , C. crenatifolia Lushington var. lycopersicaeformis Lushington, C. deliciosa Tenore, C. nobilis Lour. var. genuina Tanaka , C. nobilis Lour. var papaillaris Wester, C. papillaris Blanco , C. papillaris

ชื่อวงศ์

Rutaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           

             ผิวผลไม่เรียบ เปลือกผลสีส้ม หรือส้มแกมเขียว เปลือกอ่อน ผิวหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันขนาดเล็กหนาแน่นที่เปลือก  บริเวณขอบผิวมักหด และม้วนเข้าด้านใน ผิวผลด้านในสีขาวหรือสีเทาอ่อน เนื้อเปลือกเบา เปราะ เปลือกผลมีกลิ่นหอม รสปร่า ขม และเผ็ดร้อนเล็กน้อย

 

 

เครื่องยา ผิวส้มเขียวหวาน

 

เครื่องยา ผิวส้มเขียวหวาน

 

เครื่องยา ผิวส้มเขียวหวาน

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
          ปริมาณน้ำไม่เกิน 13%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 5%, ปริมาณสาร hesperidin ไม่น้อยกว่า 3.5% (ข้อกำหนดเภสัชตำรับจีน)

          ปริมาณความชื้นไม่เกิน 13%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 4%, ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลเจือจางไม่น้อยกว่า 30%, ปริมาณน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่า 0.4%,  ปริมาณสาร hesperidin ไม่น้อยกว่า 4% (ข้อกำหนดเภสัชตำรับญี่ปุ่น)

          ปริมาณความชื้นไม่เกิน 12%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 5%, ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 1%, ปริมาณสารสกัดด้วย 50% เอทานอลไม่น้อยกว่า 12%, ปริมาณน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่า 0.2 มิลลิลิตร (เครื่องยา50 กรัม) (ข้อกำหนดเภสัชตำรับเกาหลี)

          ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 1%, ปริมาณน้ำไม่เกิน 13%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 4%, ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 1%, ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำไม่น้อยกว่า 39%, ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลไม่น้อยกว่า 29%, ปริมาณรวมของสาร hesperidin และ narirutin ไม่น้อยกว่า 2.9%,  ปริมาณรวมของสาร nobiletin และ tangeretin ไม่น้อยกว่า 0.071%  (ข้อกำหนดเภสัชตำรับฮ่องกง)

 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เปลือกส้มเขียวหวาน  ใช้แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น แก้ลมท้องขึ้น อืดเฟ้อ รักษาโรคผมร่วง ใช้ปรุงยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ
           ตำรายาไทยผิวส้มเขียวหวานจัดอยู่ใน “เปลือกส้ม 8 ประการ” ประกอบด้วย ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มโอ ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว หรือผิวส้มโอมือ และผิวมะกรูด มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางลม
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้ผิวส้มเขียวหวาน ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของผิวส้มเขียวหวาน อยู่ใน ”เปลือกส้ม 8 ประการ” ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
          ขนาดการใช้ทั่วไปกำหนดในเภสัชตำรับจีน 3-10 กรัม

 

องค์ประกอบทางเคมี:
           anthranilic acid, apigenin, caryophyllene, geraniol, hesperidin, limonene, linalool, myrcene, naringenin, nobiletin, nerol, nomilin, ocimene, phellandrene, pinene, sabinene, sinensetin, tangeretin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านไวรัส  ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อไวรัส  ผสมในยารักษาโรคตับอักเสบ  ต้านอะมีบา  ไล่แมลง ต้านยีสต์  ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา  ต้านอนุมูลอิสระ  ต้านอาการหัวใจเต้นผิดปกติ  คลายกล้ามเนื้อเรียบ  ต้านอาการตัวเหลือง  ต้านการก่อกลายพันธุ์  ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์  ต้านมะเร็ง  เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง  ผสมในยาห้ามเลือด  ต้านพยาธิ  ฆ่าเห็บ  รักษาโรคเกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดี  

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบความเป็นพิษพบว่า เมื่อป้อนน้ำมันหอมระเหยให้หนู หรือกระต่าย ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ มากกว่า  5 ก./กก.


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting