พุดทุ่ง

ชื่อสมุนไพร

พุดทุ่ง

ชื่ออื่นๆ

หัสคุณใหญ่ ถั่วหนู (สุราษฎร์ธานี); สรรพคุณ (สงขลา); หัสคุณเทศ (พังงา); โมกเกี้ย(สระบุรี); โมกเตี้ย (สระบุรี ภาคใต้); โมกนั่ง (ภาคเหนือ); พุดน้ำ พุดป่า นมราชสีห์ นมเสือ น้ำนมเสือ พุดทอง พุดนา มูกน้อย มูกนิ่ง มูกนั่ง โมกน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Holarrhena curtisii King et Gamble

ชื่อพ้อง

H.densiflora

ชื่อวงศ์

Apocynaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 1-2 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นสะเก็ด ลำต้นมีกิ่งก้านไม่มาก มีน้ำยางสีขาวขุ่นเมื่อหักตามลำต้น กิ่งก้านและใบ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลดำ กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบเดี่ยว เนื้อหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน รูปไข่กลับ หรือรูปวงรีแกมขอบขนานเรียง ตรงกันข้ามสลับฉาก  กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร มีขนนุ่มละเอียดทั้ง 2 ด้าน ปลายเป็นติ่งหนาม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบมีขนปกคลุม ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ผิวใบด้านล่างมีสีขาวนวลกว่าด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ 12-16 เส้น ก้านใบสั้น ยาว 2-4 มิลลิเมตร หรือไม่มี ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 12 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ใบประดับเล็ก แคบยาว 2-5 มิลลิเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหนา โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 8-15 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกันและเวียนขวา รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 4-8 มิลลิเมตร ยาว 1.2-2 เซนติเมตร ปลายกลม มีขนทั้งสองด้าน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เกสรเพศผู้มี 5 อัน โคนก้านชูอับเรณูมีขนสั้นนุ่ม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ คาร์เพลเชื่อม 2 อัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปแถบกว้าง 0.8-1.2 มิลลิเมตร ยาว 2.5-8 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักคู่ กลมยาว รูปคล้ายดาบ ปลายผลชี้ขึ้น ขนาดกว้าง 1.5-5 เซนติเมตร ยาว 7-30 เซนติเมตร แตกตะเข็บเดียว เมล็ดมีสีน้ำตาล มีกระจุกขนสีขาว คล้ายเส้นไหม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นทั่วไปบริเวณพื้นที่ดินทราย ทุ่งหญ้า และป่าโปร่ง ป่าผลัดใบ ที่มีแสงแดดจัดและที่ร่มรำไร ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคม    
  

 

ลักษณะวิสัย

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก

 

ผล

 

ผล


สรรพคุณ    
               ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี และยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ท้องเสีย หรือผสมรากติ้วขน ต้มน้ำดื่มแก้ผิดสำแดง ต้น และราก มีรสร้อน ใช้ขับเลือด ขับลม กระจายเลือดลม ราก ผสมกับ อ้อยดำ ข้าวสารเจ้า แช่น้ำดื่มแก้อาเจียน
               ตำรายาไทย  ใช้   ต้นและราก รสร้อน ขับเลือด และหนองให้ตก ขับลม กระจายเลือดลม ขับพยาธิ เปลือกและราก แก้อาการท้องร่วง

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting