เกี่ยวกับเรา
ข้อตกลงการใช้บริการ
ข้อมูลต่างๆที่นำเสนอ มาจากการรวบรวมองค์ความรู้พื้นบ้าน และข้อมูลการวิจัย จากเอกสารอ้างอิงต่างๆ ผู้จัดทำไม่รับผิดชอบผลต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำตำรับยาและข้อมูลไปใช้ในทุกกรณี
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้
พื้นที่เขตอีสานใต้ เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยแหล่งของพืช พรรณนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพร ที่มีคุณค่าทางยา จาก ภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้าน การสำรวจ เก็บข้อมูล พบว่าพืชที่ ใช้ทำยา ปรากฏในตำรายาพื้นบ้านอีสาน เป็นจำนวนมาก ซึ่ง ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และเผยแพร่ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืน
ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเห็น ความสำคัญของการเก็บรวบรวมพรรณไม้ และเผยแพร่องค์ ความรู้พื้นบ้าน พร้อมทั้งข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ จึงได้ จัดให้มีการดำเนินงานสวนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่ง ปัจจุบันรวบรวมพืชสมุนไพรในเขตอีสานใต้ไว้ได้มากกว่า 200 ชนิด ในอาณาบริเวณของคณะฯ พร้อมกันนี้ได้จัดทำตัวอย่าง พรรณไม้แห้งอ้างอิง (herbarium specimens) ของพืช สมุนไพรดังกล่าวไว้ เพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงพรรณไม้ เพื่อการศึกษาวิจัยในอนาคต ดังนั้นฐานข้อมูลนี้จึงได้นำข้อมูล พรรณไม้ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การใช้ ประโยชน์ทางยา ภาพของพรรณไม้สด และแห้ง มาจัดทำระบบ ฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว อันจะทำให้เกิด ประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อนักวิจัย ผู้ที่สนใจ ประชาชนทั่วไป เนื่อง จากเป็นแหล่งตรวจสอบพรรณไม้ สามารถนำข้อมูลไปใช้ ต่อยอดงานวิจัย เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลให้แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ใช้ตรวจสอบความ ถูกต้องของพรรณไม้ ภายในเวปไซต์ ยังมีบทความเผยแพร่ เกี่ยวกับวิชาการด้านต่างๆของสมุนไพร เพื่อให้มีการนำ สมุนไพรไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และไม่สูญหายไป อันเป็น การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ด้านการใช้ประโยชน์จากพืชเป็นยา และฟื้นฟูให้คงอยู่สืบไป
โครงการจัดทำ “ ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ ” คณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ได้รับการสนับสนุนจาก
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2553
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2555
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2563