ชื่อสมุนไพร | พริกนายพราน |
ชื่ออื่นๆ | ช้าฮ่อม (ตาก) พุดน้อย (อุบลราชธานี) พุดป่า (เลย อุบลราชธานี) เข็มดง พริกป่า พริกป่าใหญ่ พริกป่าเล็ก (ชลบุรี) พริกพราน (ประจวบคีรีขันธ์) พริกผี (ยโสธร) พุทธรักษา(อุบลราชธานี) มะลิฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Tabernaemontana bufalina Lour. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Apocynaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 เมตร ลำต้น เกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบบาง แผ่นใบรูปรีแคบแกมรูปไข่ ยาว 8-15 ซม. กว้าง 2-4 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบสั้น ยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ช่อดอก แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ก้านช่อดอก ยาว 4-7 ซม. ดอกย่อย 3-25 ดอกสีขาวแกมเหลืองอ่อน รูปดอกเข็ม กลีบเลี้ยง สีเขียวอ่อน มี 5 กลีบ ยาวเกือบ 2 มิลลิเมตร รูปสามเหลี่ยม เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ส่วนหลอดยาว 12-17 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 7-9 มิลลิเมตร รูปไข่ เกสรตัวผู้มี 5 อัน ก้านเกสรสั้น อับเรณูรูปขอบขนาน ปลายเป็นติ่งแหลม ท่อเกสรตัวเมียเรียวยาว 7 มิลลิเมตร ปลายเกสรแยกเป็น 2 แฉก รังไข่ 2 ช่อง แยกจากกัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผล แบบฝักคู่ โค้ง รูปรีปลายเรียวแหลม คอดเว้าเป็นพูตื้นๆ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร ยาว 9-10 เซนติเมตร ผลย่อยแตกแนวเดียว ผิวมันสีเขียว ผิวเกลี้ยง มีเมล็ด 6-8 เมล็ด เมล็ดแก่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าละเมาะทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ลักษณะวิสัย
ดอก
ผลอ่อน
ผลแก่
เมล็ด
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกขาว แก้ไอ แก้เจ็บคอ ตำละเอียดทาแก้ฝี ฝนน้ำดื่ม แก้ไอเป็นเลือด
ยาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้ ราก แก้ไข้
ตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น รสเย็น แก้ไข้ แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน ราก รสสุขุม แก้โรคลม ใช้ปรุงยาแก้โลหิตเป็นพิษเนื่องจากชอกช้ำ แก้ช้ำใน
ยาพื้นบ้านภาคกลาง ใช้ ราก ผสมรากต่อไส้และรากหนามพุงดอ ฝนเหล้าดื่ม แก้ปวดท้อง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/