ชื่อสมุนไพร | ซองแมว |
ชื่ออื่นๆ | ทองแมว กันจาน (สระบุรี); กระเบี้ยเหลือง (ศรีสะเกษ); คางแมว (กลาง ใต้); ทำเมีย (กาญจนบุรี); จิงจาย (นครศรีธรรมราช); ส้มแมว นมแมว (ราชบุรี ใต้); ปูฉัง (สตูล); บูฉัง (พังงา);จิงจ้อ (ปัตตานี); ซ้อแมว (ลำปาง) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Gmelina elliptica Sm. |
ชื่อพ้อง | Gmelina villosa Roxb., Gmelina asiatica |
ชื่อวงศ์ | Labiatae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง ปลายกิ่งมักห้อยลง กิ่งอ่อนมีขนอุย เมื่อแก่เกลี้ยง ลำต้นอ่อนเปลือกสีเขียว เมื่อแก่เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน มีหนามแข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่หรือรูปรี หรือรูปวงรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมนหรือเกือบกลม ขอบเรียบหรือหยักไม่ชัดเจน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนมีขนสั้นนุ่ม เมื่อแก่เกลี้ยง ด้านล่างมีขนอุยแกมขนสั้นหนานุ่ม มีต่อมประปรายที่ใกล้เส้นแขนงใบที่โคนใบ เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีขนอุย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงขนาดเล็ก ยาว 2-5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 6-9 มม. ก้านดอกสั้นมาก ออกที่ปลายกิ่ง ห้อยลง มีขนสั้นหนานุ่ม ใบประดับรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ดอกย่อย 17-42 ดอก สมมาตรด้านข้าง ก้านดอกสั้นและอ้วน ยาว 1.5-2.0 มม. มีขนหนาแน่น ผิวด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 4 แฉก ปลายกลม แฉกบนเว้าตื้น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้างและเบี้ยว หลอดกลีบรูปทรงกระบอก กว้าง 3-4 มม. ยาว 1.8-2.0 ซม. ปลายหลอดกลีบบานเป็นปากแตร กว้าง 1.5-1.6 ซม. ยาว 2.0-2.2 ซม. ปลายแฉกกลีบเล็ก 3 กลีบ รูปไข่กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 0.8-1.5 ซม. และกลีบใหญ่ 1 กลีบ รูปไข่ กว้าง 1.1-1.8 ซม. ยาว 1.1-2.0 ซม. สีเหลือง ใบประดับดอก 1-3 อัน รูปไข่ รูปรี กว้าง 2.0-3.5 มม. ยาว 5.5-8.0 มม. โคนตัด มักหลุดร่วงง่าย ที่ปลายมีต่อม 2-3 อัน กลีบเลี้ยงปลายตัด มีแฉก 4 แฉกไม่ชัดเจน ผิวกลีบเลี้ยงมีขนสั้นหนานุ่ม มีต่อมขนาดใหญ่ 1-3 ต่อม ใกล้ปลายกลีบ ต่อมค่อนข้างแบน ยาว 3-4 มิลลิเมตร หลอดกลีบรูปกรวย กว้าง 3-4 มม. ยาว 4-6 มม. ปลายแฉกกลีบกว้าง 0.5-1.0 มม. หรือน้อยกว่า ยาว 2-3 มม. สีเขียว มีขนกระจายทั่วไป เกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็น 2 คู่ ยาวไม่เท่ากัน ติดบนหลอดกลีบดอกบริเวณกึ่งกลางหลอด อันยาว 2 อัน อับเรณู 2 พู กว้าง 2.0-2.5 มม. ยาว 3.5-4.0 มม. เกลี้ยง ก้านชูอับเรณูยาว 2.1-2.4 ซม. มีตุ่มขนคล้ายดอกเห็ดหรือกระบองกระจายทั่วไป และสั้น 2 อัน อับเรณูกว้าง 1.5-2.0 มม. ยาว 2-3 มม. เกลี้ยง ก้านชูอับเรณูยาว 1.3-1.4 ซม. เกลี้ยง สีเหลือง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เกลี้ยง รังไข่รูปขอบขนาน กว้าง 2.0-2.5 มม. ยาว 3.0-4.0 มม. พบขนที่ปลายสั้นๆ เกิดจาก 4 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 1 ช่อง พลาเซนตารอบแกนร่วม ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว 3.7-4.5 ซม. ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ผลสดมีเนื้อ แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปกระสวยแกมรูปไข่กลับ กว้าง 1.1-1.2 ซม. ยาว 1.3-2.0 ซม. โคนมน ปลายกลม ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ มีกลีบเลี้ยงติดคงทน สีเขียว ก้านผลยาว 4-6 มม.มีหนึ่งเมล็ด เมล็ดรูปขอบขนานหรือไข่กลับ กว้าง 0.3-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.9 ซม. เกลี้ยง พบกระจายทั่วไปในป่าเต็งรัง ออกดอกและติดผลราวเดือนเมษายนถึงสิงหาคม
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
เปลือกลำต้น
ใบ และ กิ่ง
ใบของต้นอายุน้อย
ใบของต้นอายุหลายปี
ดอก
ดอก
ดอก และ ผล
ดอก และ ผล
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ผสมรากก้านเหลือง รากต่อไส้ และรากกระเจียน ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย บำรุงเลือด ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ดอก ผสมใบแจง สารส้ม ใช้น้ำเขี้ยวบึ้งเป็นกระสาย เอาน้ำหยอดแก้ตาฟาง ต้อกระจก
ตำรายาไทย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) เป็นยาระบาย ยาล้างตา รักษาอาการปวดหู ปวดศรีษะ ปวดฟัน แก้บวม รักษาบาดแผล
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/