หญ้าบัว

ชื่อสมุนไพร

หญ้าบัว

ชื่ออื่นๆ

หญ้าขนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หญ้าบัว หญ้าขี้กลากน้อย (อุบลราชธานี), หญ้าขี้กลาก (สระบุรี), หญ้ากระเทียม (ปราจีนบุรี), กระจับแดง (นราธิวาส), กุง, กระถินนา, กระถินทุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Xyris indica L.

ชื่อพ้อง

X. calocephala Miq., X. capito Hance, X. paludosa R.Br., X. robusta Mart., Ramotha vera

ชื่อวงศ์

Xyridaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แตกจากลำต้นเป็นกระจุกใกล้พื้นดิน เป็นกอเจริญขึ้นมาเหนือดิน ใบรูปใบดาบถึงรูปแถบแคบ แผ่นใบเรียบ กว้างได้ถึง 4 มิลลิเมตร ยาว 5-25 เซนติเมตร โคนใบแผ่เป็นกาบ ปลายใบเฉียงถึงแหลม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ สีเหลืองสด แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกโดด ยาวมากชูขึ้นมาเหนือดิน ดอกย่อยเบียดอัดกันแน่น รูปทรงกลมหรือรี กว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 8 มิลลิเมตร ที่ปลายก้านช่อดอก กลีบดอกมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกชั้นนอกมี 2 กลีบ กลีบบางมีขนาดใหญ่ กลีบดอกชั้นในโคนกลีบติดกัน  ขอบจักละเอียด กลีบดอกค่อนข้างกลม ดอกย่อยแต่ละดอก มีใบประดับสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เป็นทรงรูปไข่รองรับ ยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ บางใส สีเหลืองขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ เป็นจะงอย กลีบเล็ก 2 กลีบเป็นแผ่น ก้านช่อดอกแข็ง เป็นร่อง ยาว 25-50 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผลเดี่ยว เมื่อแก่แห้งและจะแตกออก เมล็ดขนาดเล็ก ติดอยู่ตามช่อดอก มีสีดำ เป็นจำนวนมาก พอแก่เต็มที่จะร่วงไป พบมากขึ้นตามที่ดินปนทราย หรือทุ่งนาที่ทิ้งร้าง ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

 

ลักษณะวิสัย

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก

 

ดอก

 

ดอก

 

ดอก

 

เมล็ด


สรรพคุณ    
               ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ผสมไหลหญ้าชันกาด และรากครามป่า ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง, ใช้ภายนอกรักษาขี้กลาก
               ตำรายาไทย ลำต้น รักษาโรคกลากเกลื้อน

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง  : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting