ชื่อสมุนไพร | เสี้ยวแดง |
ชื่ออื่นๆ | ผู้เฒ่าล้มลุก (ยโสธร), เสี้ยวเครือ (อุบลราชธานี) เสี้ยวดาน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Bauhinia penicilliloba Pierre ex Gagnep. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Leguminosae (Fabaceae-Caesalpinioideae) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เลื้อย หรือไม้รอเลื้อย สูง 1-2 เมตร ลำต้นเกลี้ยง มีมือเกาะม้วนงอบริเวณซอกใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ถึงรูปเกือบกลม กว้าง 9-14 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแยกเป็นสองแฉก เว้าลึกเกือบสุดโคนและกว้าง โคนใบรูปหัวใจ แต่ละแฉกปลายแหลมถึงมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีขนละเอียดเป็นกำมะหยี่สีน้ำตาล ใบอ่อนมีขนใบ สีน้ำตาลนุ่มทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 11-15 เส้น เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกช่อกระจะ ออกที่ด้านข้างและปลายกิ่ง ยาว 7-20 เซนติเมตร มีขนสีแดงอยู่ทั่วไป กลีบดอกสีขาวหรือสีขาวครีม กลีบกลางมีแต้มสีเหลือง ดอกย่อยจำนวนมาก เมื่อบานเต็มที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอกกลับ กว้าง 1.5 มม. ยาว 5 มม. เกสรเพศผู้ 3 อัน แยกเป็นอิสระ มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 2 อัน เป็นตุ่มขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศเมีย 1 อัน มีรังไข่เหนือวงกลีบ มี 1 ห้อง ยอดเกสรเพศเมียเป็นจุด กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 1.5 มม. ยาว 1 ซม. มีสีแดง ติดบนฐานรองดอกรูปถ้วย มีโคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผิวด้านนอกมีขนยาวห่าง ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แกมรูปดาบ กว้าง 2.5 ซม. ยาว 6 ซม. ปลายฝักมีติ่งแหลม ฐานฝักรูปลิ่มเบี้ยว มีกลีบเลี้ยงติดทน ผิวเกือบเรียบ แห้งแล้วแตกได้ สันด้านบนไม่นูน เมล็ดรูปจาน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. สีน้ำตาลเข้ม เป็นไม้พื้นล่างพบตามที่โล่งในป่าเต็งรัง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
ลักษณะวิสัย
ใบ และ ช่อดอก
ดอกตูม
ดอก
ดอก
ดอก
ใบ และ ผล
ผล
ใบ และ ผลแก่แตก
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง และทำให้เจริญอาหาร รักษาแผลในปาก แก้โรคปากนกกระจอก ราก ปั้นเป็นยาลูกกลอน กินแก้ปวดท้อง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/