ชื่อสมุนไพร | สรัสจันทร |
ชื่ออื่นๆ | หญ้าแลไข่กา, จำปีบะ (อุบลราชธานี), ดอกดิน (ภาคกลาง), กล้วยเล็บมือนาง (ภาคใต้), กล้วยมือนาง (ชุมพร), หญ้าหนวดเสือ (สุราษฎร์ธานี), เลื้อมนกเขา, หญ้านกเขา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานนามว่า “สรัสจันทร” |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Burmannia coelestis D.Don |
ชื่อพ้อง | B. azurea Griff., B. bifurca Ham. ex Hook.f., B. borneensis Gand., B. javanica Blume, B. malaccensis Gand., B. selebica Becc., B. triflora Roxb., B. uniflora Rottler ex Spreng., Cryptonema malaccensis Turcz., Nephrocoelium malaccensis |
ชื่อวงศ์ | Burmanniaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก อายุฤดูเดียว ขนาดเล็ก สูง 25-30 เซนติเมตร อาจสูงได้ถึง 40 เซนติเมตร ลำต้นเล็กเรียว เป็นแกนบอบบาง ใบเดี่ยว เรียงสลับกระจุกที่โคนต้นแบบกุหลาบซ้อน รูปแถบหรือรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม กว้าง 1.5-3 มิลลิเมตร ยาวได้ถึง 1.8 เซนติเมตร ตามข้อส่วนบนของแกน มีใบเกล็ดขนาดเล็ก 2-3 ใบ ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกช่อแบบช่อกระจุกหรือช่อกระจะ กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง และสีม่วงอ่อนเกือบขาวจนถึงสีม่วงเข้ม ดอกย่อย 2-6 ดอก ออกที่ปลายยอด กลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปไข่ถึงรูปใบหอก ยาว 0.5-1.5 มิลลิเมตร ดอกย่อยมี 3 ครีบ ยาวตลอดแนวรังไข่และหลอดกลีบรวม ครีบกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 3 อัน แกนอับเรณูรูปอักษรวาย อับเรณูมี 1 พู แตกตามยาว เกสรเพศเมียมีก้านชูเกสร 1 ก้าน ปลายแยกเป็น 3 พู รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 3 คาร์เพล 3 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ผลแห้งไม่แตกเมื่อแก่ รูปไข่กลับ เมล็ดจำนวนมาก พบบริเวณป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้าเปิด ชายป่าโปร่ง พื้นที่ชุ่มน้ำ และที่แฉะตื้น ๆ ออกดอกช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม จัดเป็นพืชหายาก
ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตหลังการอยู่ไฟ ผสมน้ำผึ้งปรุงเป็นยาลูกกลอน รับประทานแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง นำทั้งต้นมาขยำ และวางไว้ที่เล็บมือ แก้โรคเล็บออกดอก (เล็บมีสีขาว)