ชื่อสมุนไพร | แววมยุรา |
ชื่ออื่นๆ | เกล็ดหอย (อุบลราชธานี), แววมยุเรศ (กรุงเทพมหานคร) สามสี หญ้าลิ้นเงือก หญ้าลำโพง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Torenia fournieri Linden. ex E.Fourn. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Scorphulariaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านโปร่ง ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีขนที่สัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับฉาก กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร รูปใบหอก ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมถึงรูปหัวใจ ก้านใบยาวประมาณ 1.5 มม. ดอกช่อกระจะโปร่ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกยาว 4 ซม. แกนช่อดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับ 1 ใบ รูปแถบแกมใบหอก กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ปลายแหลม ขอบเป็นชายครุย ผิวมีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีได้ถึง 8 ดอก บานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มม. ก้านดอกย่อยยาว 1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่มบริเวณสัน กลีบดอกมี 5 กลีบ หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. โคนแคบ ผิวด้านในมีขนสั้นนุ่ม ผิวด้านนอกเกลี้ยง หรือมีขนต่อมขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงปากสีม่วงเข้ม กลีบตรงกลางมีแต้มสีเหลือง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นสองปาก กลีบด้านบนสองกลีบ กว้างประมาณ 10 มม. ยาวประมาณ 8 มม. ชนกันเป็นรูปคุ่ม กลีบด้านล่างสามกลีบสีม่วงเข้ม กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 7 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็น 2 คู่ สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ติดบริเวณกลางของหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกระบอกเบี้ยว ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง ออวุลจำนวนมากติดที่แกน ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาวประมาณ 16 มม. ยอดเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นทรงรี แต่ละกลีบมีครีบ กว้างประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 6 มม. ผลเป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. มีกลีบลี้ยงติดทน เมล็ดมีขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปรี ขึ้นบริเวณที่ร่ม หรือบนหินในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ พื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร ตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับ 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ดอก และ ใบ
ดอก และ ดอกตูม
ดอก
ดอก
ดอก และ ผล
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากสด ทุบพอแหลก หรือทุบกับเกลือ อมแก้ปวดฟัน