ลำบิดดง

ชื่อสมุนไพร

ลำบิดดง

ชื่ออื่นๆ

จังนัง (สุรินทร์), ดำบิดดง (ระนอง), คันจ้อง คันจอง (อุบลราชธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros filipendula Pierre ex Lecomte

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Ebenaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม มน หรือรูปหัวใจ แผ่นใบบางมีขนสั้นหนานุ่ม มีขนตลอดเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 0.1-0.3 เซนติเมตร ดอกแยกเพศ อยู่คนละต้น กลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 4 กลีบ ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ดอกย่อย 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 0.2-0.4 เซนติเมตร กลีบแฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่งของความยาวกลีบ มีขนสากด้านนอก ติดทน กลีบดอกสีขาว รูปดอกเข็ม ยาว 1.2-1.6 เซนติเมตร กลีบแยกประมาณกึ่งหนึ่ง มีขนด้านนอก เกสรเพศผู้ 12-16 อัน เกลี้ยง ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะคล้ายดอกตัวผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า  ก้านดอกยาว 2-4 เซนติเมตร รังไข่มีขนยาวที่โคน มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ไม่มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ผลสดแบบมีเนื้อ รูปทรงกลม ยาว 2-2.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงแยกเกือบจรดโคน มีขนด้านนอก ก้านผลยาว 2-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีขนนุ่ม ผลแก่เกลี้ยงมีนวลสีขาว รับประทานได้ มีหลายเมล็ด พบตามป่าแล้งและป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูง 50-400 เมตร

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น

 

ใบ

 

ใบ

 

ดอกอ่อน

 

ใบอ่อน และ ดอกอ่อน

 

ดอกตูม และ ดอกบาน

 

ดอกตูม

 

ดอก

 

ดอก

 

ผล

 

ผล

 

ผล และ เมล็ด


สรรพคุณ    
              ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก แช่น้ำดื่ม และอาบแก้ซางเด็ก (โรคของเด็กเล็ก มีอาการสำคัญคือ เบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปาก และคอ ลิ้นเป็นฝ้า) หรือเข้ายาแก้ประดง ผล รับประทานได้ ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสด มีรสฝาดหวาน
              ตำรายาจังหวัดอำนาจเจริญ  ใช้เป็นยาสมุนไพรแก้ปวดท้อง แก้บิด ราก นำมาต้มรวมกับยาอื่นดื่มแก้ไข้ ใช้เป็นยาเย็น นำมาแช่น้ำอาบ และดื่ม ในสตรีหลังคลอดที่อยู่ไฟไม่ได้

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :  www.thaiherbarium.com


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting