ชื่อสมุนไพร | มะหวด |
ชื่ออื่นๆ | สีหวด (นครราชสีมา) กำซำ กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง) ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) กำจำ (ภาคใต้) ซำ (ทั่วไป) นำซำ มะจำ (ภาคใต้) มะหวดป่า หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สีฮอกน้อย หวดลาว (ภาคเหนือ) หวดฆ่า (อุดรธานี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh. |
ชื่อพ้อง | Sapindus rubiginosus |
ชื่อวงศ์ | Sapindaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มผลัดใบ หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านมีขนละเอียด เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสั้นๆ กิ่งแขนงรูปทรงกระบอกเป็นร่อง ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ ใบเป็นใบประกอบแบบนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 10-30 เซนติเมตร ใบย่อย มี 3-6 คู่ รูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-11 เซนติเมตร ยาว 3-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว และย่นเป็นลอน สีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว ดอก สีขาวถึงสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตั้ง จากปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด ยาวถึง 50 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ แยกเพศ เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 0.8-1 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว กลีบดอก 4-5 กลีบ เกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม โคนกลีบแคบ มีขนและมีเกล็ดเล็กๆ 1 เกล็ด ที่มีสันนูน 2 สัน เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านเกสรมีขนสีน้ำตาลอ่อน ก้านเกสรตัวเมียยาว ไม่มีขน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปครึ่งวงกลม กลีบนอก 2 กลีบ เล็กกว่ากลีบใน มีขนด้านนอก ผลสดแบบมีเนื้อ รูปรีเว้าเป็นพู ผิวเกลี้ยง กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดงจนแก่จัดสีม่วงดำ มี 2 พู ผิวเกลี้ยง เปลือกและเนื้อบาง เมล็ดสีน้ำตาลดำ เป็นมัน มี 1 เมล็ด รูปทรงรีแกมขอบขนาน พบตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 300-1,200 เมตร ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก และ ใบ
ดอก
ผล
ผลอ่อน
ผลแก่
ผลสุก
ผลสุก
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ราก รสเมาเบื่อสุขุม รักษาอาการไข้ ตำพอกศีรษะแก้อาการไข้ปวดศีรษะ ตำพอกรักษาผิวหนังผื่นคัน แก้พิษฝีภายใน ขับพยาธิ วัณโรค แก้พิษร้อน แก้กระษัยเส้นเอ็น ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา รากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ซาง (โรคของเด็กเล็ก มีอาการเบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า) เปลือกต้น บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ แก้บิด สมานแผล ใบ แก้ไข้ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้าดื่มแก้ซาง ใบอ่อน รับประทานเป็นผักได้ ชาวบ้านใช้ใบรองพื้นและคลุมข้าวที่จะใช้ทำขนมจีนเพื่อกันบูด ผล บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง ผลสุก มีรสจืดฝาด ถึงหวาน รับประทานเป็นผลไม้ แก้ท้องร่วง เมล็ด รสฝาด ต้มดื่มแก้ไข้ซาง แก้ไอกรน แก้ไอหอบในเด็ก แก้ไอเรื้อรัง บำรุงเส้นเอ็น
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/