ชื่อสมุนไพร | ฟักข้าว |
ชื่ออื่นๆ | ขี้กาเครือ (ปัตตานี), คัดเข่า (นครราชสีมา), ผักข้าว (ภาคเหนือ), หมักบวบเข่า, คายเข่า |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng. |
ชื่อพ้อง | Momordica macrophylla Gage, M. meloniflora Hand.-Mazz., M. mixta Roxb., Muricia cochinchinensis Lour., Zucca commersoniana |
ชื่อวงศ์ | Cucurbitaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเลื้อย อายุหลายปี ลำต้นหนาเกลี้ยง มีมือพันเกาะออกตามซอกใบ เถาแก่มีเหง้าใต้ดิน เถากลมมีขนนุ่ม เถาแก่ไม่มีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบไม่มีแฉก หรือเป็นแฉกรูปฝ่ามือ 3-5 แฉก รูปไข่ หรือเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 ซม. ปลายแฉกแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ ขอบเรียบ หรือกึ่งหยักซี่ฟัน ก้านใบยาว 2.8-5.5 ซม. มีต่อม 2-5 ต่อม ตามก้านใบและโคนใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกเดี่ยว หรือออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ยาว 6-8 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลืองอ่อน สามกลีบในมีสีดำบริเวณโคนดอกด้านใน ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 5-15 ซม. ใบประดับรูปไตหรือเกือบกลม กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 2.8-3.2 ซม. ผิวด้านในมีขน กลีบเลี้ยง รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 มม. ยาว 1-1.5 ซม. หนาคล้ายแผ่นหนังเกลี้ยง หรือมีขนสากประปราย กลีบดอกรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 4-5 ซม. มีเส้นตามยาวชัดเจน ดอกเพศเมีย ก้านดอกยาว 3-10 ซม. ใบประดับรูปรี กลีบเลี้ยงรูปแถบ แกมรูปขอบขนาน ยาว 5-10 มม. กลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 1-1.5 ซม. ผิวมีตุ่มขรุขระ ผลรูปไข่ รีหรือกลม กว้าง 5-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือแดง ผิวเป็นหนามสั้นทั้งผล เมล็ดแบน รูปกลมหรือรี เปลือกหุ้มสีน้ำตาลดำ ขอบเมล็ดโดยรอบมีรอยหยัก ลักษณะเหมือนรอยถูกกัด ผิวมีลายเส้น เมล็ดมีจำนวนมาก มักขึ้นตามลำห้วย พบตามที่รกร้าง หรือชายป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงที่สูงประมาณ 1,000 เมตร ออกดอก และเป็นผล ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์- เมษายน
ลักษณะวิสัย
ใบ
ดอก และ ใบ
ดอกตูม
ดอกตูม
ดอก
ดอก
ดอก
ดอกเริ่มติดผล
ผลสุก
ผลอ่อน ผลแก่ และ ผลสุก
ผล และ เมล็ดอ่อน
ผล และ เมล็ดแก่
ผลแก่
ผลสุก
ผลสุก และ เมล็ด
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใบ รสขมเย็น แก้ไข้ตัวร้อน ใบปรุงเป็นยาเขียวแก้ไข้ ถอนพิษอักเสบ ตำพอกแก้ปวดหลัง แก้กระดูกเดาะ ใบสดตำพอกแก้ฝี แก้พิษต่างๆ ใบอ่อนและราก ต้มเป็นยาขมแก้ไข้ ราก รสเบื่อเย็น ใช้ถอนพิษ รากต้มดื่มถอนพิษทั้งปวง ถอนพิษไข้ ขับเสมหะ แก้เข้าข้อ ปวดตามข้อ ใช้ทำให้เกิดฟองในน้ำใช้แทนสบู่ และใช้ฆ่าเหา แช่น้ำสระผม แก้ผมร่วง เมล็ด รสมันเมาเย็น เมล็ดดิบเป็นพิษร้ายแรง ทำให้ลิ้นแข็ง ต้องเผาหรือทอดให้สุก เมล็ดที่ใช้ทำยาจะคั่วให้กรอบก่อน กินบำรุงปอด แก้ฝีในปอด รักษาวัณโรค แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้ท่อน้ำดีอุดตัน เมล็ดใช้รักษาหูด แผลฝีหนอง และแผลพุพอง รักษาริดสีดวงทวาร เมล็ด มีน้ำมัน ใช้ทำเทียนไขให้ความสว่าง ใช้เป็นน้ำมันขัดเงา ผลอ่อน ใบอ่อน และดอก ใช้ลวก ต้ม นึ่ง แล้วรับประทานเป็นผัก หรือใส่ในแกง
ชาวเวียดนามใช้เยื่อหุ้มเมล็ด เพื่อให้สีแก่ข้าวเหนียวที่นำไปนึ่ง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/