ชื่อสมุนไพร | คอแลน |
ชื่ออื่นๆ | หมักแวว หมากแงว มะแงว แงว ลิ้นจี่ป่า คอแลนตัวผู้ คอรั้ง สังเครียดขอน หมักงาน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Nephelium hypoleucum Kurz. |
ชื่อพ้อง | Dimocarpus longan |
ชื่อวงศ์ | Sapindaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นเปลา โคนต้นอาจมีพูพอนบ้าง เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ เรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน แกมรูปไข่กลับ ติดตรงข้าม 1-3 คู่ กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนใบมนและเบี้ยว ปลายใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบสีจาง ดอกช่อแยกแขนง ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากมีขนาดเล็ก สีขาวอมเขียวออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ ตามปลายกิ่ง ทุกส่วนของช่อมีขนสีเทาทั่วไป โคนกลีบรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็น5 แฉก มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน รังไข่กลม มีขนปกคลุม ผลสด รูปวงรี หรือค่อนข้างกลม ออกลูกดกเป็นพวงคล้ายลิ้นจี่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผล 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ผิวขรุขระเป็นปมเล็ก ๆ กระจายทั่วไป ผลอ่อนสีเขียว พอแก่จัดออกสีแดงเข้ม แต่ละผลมีเมล็ดเดียว สีดำ มีเนื้อเยื่อใสๆและฉ่ำน้ำหุ้มเมล็ด พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ตามที่ใกล้แหล่งน้ำที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-800 เมตร ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลสุกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ผลอ่อน และ ใบ
ผลแก่ และ ใบ
ผล
ผล และ เมล็ด
สรรพคุณ
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน แก่น ฝนกับน้ำ ผสมสมุนไพรอื่นๆ รวม 35 ชนิด กินแก้ไข้หมักไม้ ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัดใหญ่ ผลแก่ รับประทานได้ เป็นยาระบาย มีรสเปรี้ยวจัด นิยมกินกับน้ำปลา เกลือ หรือน้ำปลาหวาน
ตำรายาไทย เนื้อไม้ รสฝาด ปรุงเป็นยาห้ามเลือด ผล เป็นยากระจายเลือด เปลือก เป็นยาบำรุงเลือด
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/