ก่อหิน

ชื่อสมุนไพร

ก่อหิน

ชื่ออื่นๆ

ก่อหิน (จันทบุรี) ก่อกินลูก (ตรัง) ก่อเหิบ (นครพนม) ก่อใหญ่ ก่อใบเลื่อม ก่อตาหมู ก่อหมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์

Castanopsis piriformis Hickel & A. Camus

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์

Fagaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลหรือชมพูอ่อน ใบเดี่ยวเรียงแบบสลับ รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบสอบถึงแหลมทู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ก้านงอเล็กน้อยและบวมบริเวณโคนก้าน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยไม่มีก้านดอก สีขาวปนเหลืองเป็นกระจุกละ 3-5 ดอก มีกลิ่นฉุน ร่วงง่าย ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อหรือร่วมช่อ หากร่วมช่อ ช่อดอกเพศเมียอยู่โคนช่อ ช่อดอกเพศผู้มักแยกแขนงมาก กลีบเลี้ยง แยกกันอิสระ 6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนด้านนอก เกสรเพศผู้ 12 อัน ผิวเกลี้ยง รังไข่รูปลูกข่าง มีขนปกคลุมหนาแน่น มี 3 ช่อง มีออวุล 2 เมล็ด ยอดเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลเชื่อมต่อกันเป็นกลุ่มเบียดอัดกันแน่นบนก้านที่อ้วนสั้น ช่อผลยาว 10-15 เซนติเมตร ผลแก่แข็งมาก ผิวเกลี้ยง รูปกลมหรือรี คล้ายรูปลูกข่าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 0.5-1 เซนติเมตร กาบหุ้มผลสีเขียวอ่อนหุ้มมิดตัวผล ผิวกาบผลมีแนวเส้นคดโค้งไปมา กาบหุ้มจะแยกจากปลายสู่โคนเมื่อผลแก่จัด แต่ละกาบหุ้มมีผล 1 ผล พบตามป่าสนผสม ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ที่ความสูง 250-950 เมตร ออกดอกราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม ติดผลราวเดือนมิถุนายนถึงกันยายน

 

ลักษณะวิสัย

 

 

ลำต้น

 

 

ใบ

 

 

ช่อดอก และ ใบ

 

 

ช่อดอก

 

 

ผล

 

 

ผล และ เมล็ด

 

 

ผล และ เมล็ด

 

 

ผล และ เมล็ด


สรรพคุณ    
              ตำรายาไทย ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะขัด ผลแก่ รับประทานได้ โดยนำเมล็ดมาต้ม หรือคั่วให้สุก มีแป้งอยู่มาก  และนำมาทำเครื่องประดับ เปลือก มีน้ำฝาด  ใช้ในการฟอกหนัง  หรือย้อมแหอวน

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting