ผักขมหิน

ชื่อสมุนไพร

ผักขมหิน

ชื่ออื่นๆ

ปังแป, ผักเบี้ยหิน (เหนือ), ผักปั๋งดิน (เชียงใหม่), ผักขมฟ้า (สุโขทัย)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Boerhavia diffusa L.

ชื่อพ้อง

Axia cochinchinensis Lour., Boerhavia adscendens Willd., B. caespitosa Ridl., B. ciliatobracteata Heimerl, B. friesii

ชื่อวงศ์

Nyctaginaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตั้งตรงหรือทอดเลื้อยขนานไปตามพื้นดิน ผิวเรียบหรือมีขนบริเวณปลายกิ่ง ลำต้นกลมสีเขียวปนแดง ยอดอ่อนมีขน  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร โคนใบกลมหรือตัด ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียว ท้องใบสีนวล ตลอดแนวขอบใบมีต่อมสีแดง ดอกช่อแยกแขนง ลักษณะเป็นช่อกระจุกคล้ายซี่ร่มแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก รูประฆัง กลีบรวมสีขาวชมพู หรือแดง กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 10 กลีบ ปลายมน กลีบรวมยาวประมาณ 0.2 ซม. ก้านช่อดอกมีขน  เกสรเพศผู้ 2-3 อัน ยื่นพ้นกลีบรวมเล็กน้อย ผลเป็นผลแห้ง มีส่วนโคนกลีบรวมหุ้มอยู่ รูปคล้ายกระบอง เป็นสัน 5 สันตื้น ๆ มีต่อมทั่วไป ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ผิวมีขนจับดูจะเหนียวมือ เป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน ในไทยพบทั่วทุกภาคตามที่รกร้าง และข้างถนน

 

ลักษณะวิสัย

 

 

ดอก และ ใบ

 

 

ดอก และ ผล


สรรพคุณ    
              ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ใบ ตำพอกฝี  หรือใช้รับประทานเป็นผัก ใช้เลี้ยงแกะ วัว

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting