ผ่าสาม

ชื่อสมุนไพร

ผ่าสาม

ชื่ออื่นๆ

ก้วย ผีเสื้อหลวง (ภาคเหนือ) ขุนเหยิง (สกลนคร) คอแลน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตวย ตวยใหญ่ (เพชรบุรี) หมากผ่าสาม (นครพนม อุดรธานี) ตานเสี้ยน บุนหยิง สีเสื้อ สีเสื้อหลวง หมูหัน กรวยป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์

Casearia grewiifolia Vent.

ชื่อพ้อง

Casearia kerri Craib, C. oblonga

ชื่อวงศ์

Flacourtiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงได้ ถึง 24 ม. รูปทรงโปร่ง ออกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น ลำต้นเปลาตรง มีลายสีขาวปนดำ คล้ายตัวแลนหรือตะกวด จึงเรียก ”คอแลน” เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว มักจะมีพูพอนเมื่อต้นแก่ เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาล ผิวเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ มีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป กิ่งอ่อนมีขนสั้น หนานุ่ม สีน้ำตาลแดง น้ำยางใส ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 10-18 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว บางครั้งตัดหรือรูปหัวใจ ขอบหยักเป็นคลื่นมนๆ เนื้อใบหนา ผิวด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน หรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนยาวห่างถึงขนสั้นหนานุ่มทั่วไป เส้นกลางใบเรียบ หรือเป็นร่องทางด้านบน ด้านล่างนูนเห็นชัด เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-14 เส้น ก้านใบ ยาว 0.4-1.2 ซม. มีขนสั้นนุ่ม หรือเกือบเกลี้ยง มีหูใบรูปสามเหลี่ยมขนาด 1.5 มม. ซึ่งจะร่วงเร็ว แผ่นใบเมื่อส่องกับแดด จะเห็นต่อมโปร่งแสงเป็นจุด และขีดกระจายทั่วไป ดอกแยกเพศร่วมต้น ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอมเขียวจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเหนือรอยแผลใบที่ใบร่วงแล้ว ใบประดับจำนวนมาก มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รูปงองุ้ม แต่ละกลีบไม่ติดกัน ด้านนอกมีขนแน่น ด้านในเกลี้ยง ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกย่อย ยาว 4-6 มม. มีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่มเล็กน้อยหรือเกลี้ยง ตรงกลางมีแกนเป็นรูปเจดีย์คว่ำ เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน รูปขอบขนาน มีขนหนาแน่น รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลมเกลี้ยง หรือมีขนยาวห่าง มี 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลมีเนื้อ แห้งแตก รูปไข่  ผิวเรียบเป็นมัน ผนังหนา กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม. เมื่อสุกสีส้มถึงเหลือง แตกเป็น 3 ซีก จึงเรียกว่า “ผ่าสาม” เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด เมล็ดจำนวนมาก ขนาด 1 เซนติเมตร สีข้าวสารหัก รูปร่างคล้ายผีเสื้อ หัวท้ายมน ผิวแข็ง เรียบเป็นมัน พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1,200 ม. ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม เป็นผลระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น

 

ใบ

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก

 

ดอก

 

ผล

 

ผลสุก

 

ผล และ เมล็ด

 


สรรพคุณ
              ตำรายาไทย ดอก รสเมา แก้พิษกาฬ พิษไข้ตัวร้อน ราก รสเมาขื่น แก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ บำรุงตับ บำรุงธาตุ แก้ริดสีดวงต่างๆ แก้บิดมูกเลือด แก้พิษกาฬ แก้ผื่นคัน แก้ริดสีดวงต่างๆ เปลือกต้น รสเมาขื่น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับผายลม บำรุงโลหิต เป็นยาคุมธาตุ สมานแผล แก้อุจจาระร่วง ใบ รสเมาเบื่อ แก้ไข้พิษ แก้พิษกาฬ แก้พิษอักเสบจากหัวกาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน แก้ริดสีดวงจมูก แก้ผดผื่นคัน รักษามะเร็งลาม แก้บาดแผล ผล แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ลงท้อง กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต แก้เลือดออกตามไรฟัน เมล็ด รสเมาเบื่อ แก้ริดสีดวงทวาร แก้พยาธิผิวหนัง น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้โรคผิวหนัง ใช้เบื่อปลา แก้ริดสีดวงจมูก ใบและราก รักษาโรคท้องร่วง ดอก แก้พิษไข้

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting