ชื่อสมุนไพร | สะแกนา |
ชื่ออื่นๆ | แก (อุบลราชธานี) แพ่ง(เหนือ) ขอนเเข้ จองแค่(แพร่) สะแก ซังแก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Combretum quadrangulare Kurz. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Combretaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูง 15-20 เมตร เปลือกต้นสีเทานวล กิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆของลำต้น มีขนเป็นเกล็ดกลม ต้นที่มีอายุมากบริเวณโคนลำต้น พบหนามแหลมยาว แข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร ปลายมน หรือเว้าเป็นแอ่งตื้นๆ ขอบใบเรียบ หรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนสอบแคบไปยังก้านใบ ก้านใบสั้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินหนาแน่น ใบมีสีเขียวสด ผิวใบด้านบนสากมือ ดอก เล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อที่ซอกใบ และปลายยอด แบบช่อเชิงลด ยาว 4-5 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ช่อหนึ่งมีดอกเล็กๆจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยปลายแยก 4 กลีบ สีขาวอมเหลือง กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวอมเหลือง รูปไข่กลับ ปลายมน หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้มี 8 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ ผลแห้ง ขนาด 1-2 เซนติเมตร รูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สัน ตามยาว พบตามป่าเต็งรัง ออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม
ลักษณะวิสัย
เปลือกต้น
เปลือกต้น
เปลือกต้น
ใบ
ดอก
ผล
ผล
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้น เข้ายากับเบนโคก และเบนน้ำ แก้ปวดมดลูก มดลูกอักเสบ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลาสำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตร เมล็ด ถ่ายพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก
ตำรายาไทย ใช้ เมล็ดแก่ รสเมาเบื่อ ขับพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน ในเด็ก(โดยใช้ขนาด 1 ช้อนคาว หรือ 3 กรัม ตำผสมกับไข่ ทอดกินครั้งเดี่ยวขณะท้องว่าง) แก้ซางตานขโมย มะเร็ง คุดทะราดใบแก่ รสฝาดเมา แก้พิษปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ไข้ แก้บาดแผล ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่างๆ ใบอ่อน รสฝาด รักษาแผลสด แก้บิดมูกเลือด ใบ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต้น รสเมา แก้โรคหนองใน แก้แผลในที่ลับ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กามโรคเข้าข้ออกดอก ปรุงเป็นยารักษาฝีมะเร็งภายในต่างๆ กระพี้ รสเบื่อร้อน แก้คันทวารเด็ก ขับพยาธิเส้นด้าย เมล็ดแก่ รสเบื่อเมา ขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้ายในเด็ก โดยใช้เมล็ดแก่ 1 ช้อนคาว (ประมาณ 3 กรัม) หรือ 15-20 เมล็ด ตำให้ละเอียด ทอดกับไข่รับประทาน แก้ซาง ตานขโมย แก้คุดทะราด แก้มะเร็ง ราก รสเมา ปรุงเป็นยาแก้กามโรค หนองใน เข้าข้อ ฝีมะม่วง ฝีต่างๆ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษไข้เซื่องซึม ฆ่าพยาธิ ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลาม มะเร็งตับ ปอด ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร แก้ไข้สันนิบาต ผอมแห้ง แก้ริดสีดวง ผอมแห้ง แก้เสมหะ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ตกมูกเลือด ขับพยาธิ ทั้ง 5 ส่วน รสเมา ขับพยาธิในท้อง แก้ซางตานขโมย พุงโรก้นปอด อุจจาระหยาบ เหม็นคาว แก้ฝีตานซาง ผลดิบ แช่น้ำไว้ให้วัวควายกินขับพยาธิ
องค์ประกอบทางเคมี
เมล็ดพบฟลาโวนอยด์ combretol
ข้อมูลเครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-thaicrudedrug/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/